เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ DHA และการทำงานของสมอง

ดีเอชเอ กับการทำงานของสมอง แหล่งของ  DHA และ EPA ในธรรมชาติพบมากในปลาทะเลและสาหร่าย โดย EPA จะมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดอุดตัน โรคหลอดเลือดหัวใจ ช่วยลดระดับ ของไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ขณะที่ดีเอชเอมีความสำคัญต่อการทำงานของสมองเพราะเป็นโครงสร้างพื้นฐานของเซลล์สมอง   ---ในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีผลงานวิจัยแสดง อย่างชัดเจนว่า สาร DHA ในน้ำมันปลามีส่วนสำคัญในการพัฒนาสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงตั้งแต่แรกเกิดที่ต้องการ DHA ในปริมาณมากและเพียงพอ เพื่อใช้ในการพัฒนาสมองได้อย่างเต็มที่ในวัยผู้ใหญ่ ดีเอชเอ จะผ่านเข้าไปในสมองและเสริมสร้างการเจริญเติบโตของปลายประสาทที่เรียกว่า เดนไดรต์ ซึ่งจะทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณและส่งผ่านข้อมูลระหว่างเซลล์สมองด้วยกัน ทำให้เกิดการเรียนรู้และการจดจำ นอกจากนี้ DHA ยังมีความสำคัญต่อระบบประสาทตา และระบบการทำงานของสายตาอีกด้วย
DHA ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรค ความจำเสื่อมชนิดที่เป็นที่รู้จักกันคือ อัลไซเมอร์ ซึ่งเป็นโรคที่พบบ่อยในกลุ่มโรคความจำเสื่อมโดยมีการเสื่อมของ เซลล์สมองในส่วนที่ ควบคุมการเรียนรู้ และความจำ โรคนี้ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไปและอัตราความเสี่ยงของโรคจะเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วย โรคความผิดปกติของหลอดเลือด ได้แก่โรคหลอดเลือดหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในหลอดเลือด ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงสำคัญที่อาจเกิดโรค เซลล์สมองฝ่อเร็วกว่าคนทั่วไป
โรคอัลไซเมอร์จะส่งผลให้เกิดความจำเสื่อม การทำงานประสานของร่างกายลดลงพฤติกรรมเปลี่ยน หลงลืม สับสน และไม่สามารถเรียนรู้ปฏิบัติงาน ที่เคยทำปกติได้ การมีเหตุผลจะลดลง ที่สำคัญคือเมื่อเกิดขึ้นแล้วไม่สามารถรักษาให้หายได้ ปัจจุบันผู้ป่วยด้วยโรคนี้ทั่วโลกประมาณ 33.9 ล้านคน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าใน 40 ปี ข้างหน้า สำหรับประเทศไทยซึ่งมีผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปทั้งหมด 8.3 ล้านคนคาดว่า จะมีผู้ มีความเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ประมาณ 8.3 แสนคน และคาดการณ์ได้ว่าโรคอัลไซเมอร์ จะเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่รุนแรงขึ้น ในอนาคตซึ่งไม่เพียงจะส่งผลกระทบต่อผู้เป็นโรคเท่านั้น ยังส่งผลกระทบต่อ คนในครอบครัวอีกด้วย ดังนั้นโรคอัลไซเมอร์จึงเป็นโรคที่น่ากังวลในปัจจุบันและอนาคตเป็นอย่างมาก
หนึ่งในสาเหตุของการเกิดอัลไซเมอร์คือการสะสม  ของอะไมลอยด์ เบต้า จนกลายเป็นอะไมลอยด์ พล๊าค ซึ่งมีความเป็นพิษต่อเซลล์ประสาท โดยจะทำลายสมดุลไอออนทำให้เกิดอนุมูลอิสระ ทำลายโครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์ที่มีไขมันและโปรตีนเป็นส่วนประกอบและทำให้เกิดการกระตุ้นเซลล์ Microglia ซึ่งเมื่อ Microglia ถูกกระตุ้นจะทำให้เกิดการหลั่งสารที่เกี่ยวกับการอักเสบที่เป็นพิษต่อระบบประสาทซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เซลล์สมองถูกทำลาย
มีงานวิจัยสนับสนุนว่า ดีเอชเอ ในน้ำมันปลาช่วยเพิ่ม สารที่มีชื่อว่า LR 11 โปรตีน ซึ่งสามารถช่วยลดการเกิดอะไมลอยเ์เบต้า ที่จะรวมตัวเป็น อะไมลอยด์ พล๊าค หนึ่งในสาเหตุของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ อีกงานวิจัยที่ทำการทดลองกับผู้สูงอายุ พบว่า การรับประทาน ดีเอชเอ วันละ 900 mg เป็นเวลา 9 เดือน สามารถเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ และการจดจำได้ดี นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยเพิ่มเติมสนับสนุนว่า ดีเอชเอ สามารถชะลอการเกิดโรคสมองเสื่อมประเภทอัลไซเมอร์ได้โดยที่ไม่มีผลข้างเคียงต่อสุขภาพและมีความปลอดภัยสูง รวมถึง งานวิจัยระบุว่าการที่ร่างกายได้รับ dha ที่ไม่เพียงพอ จะมีแนวโน้มทำให้ เกิดโรคอนุมูลอิสระ  เกิดปฏิกิริยา ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ทำให้เกิด โรคอัลไซเมอร์ ได้นอกจากนี้ยังมีงานวิจัย ในประเทศออสเตรเลียโดยศึกษาเด็กอายุ 7-12 ปี ที่มีอาการสมาธิสั้น พบว่าการเพิ่มขึ้นของ DHA ในเม็ดเลือดแดง ส่งผลให้เด็กมีการอ่านคำที่ดีขึ้น และสะกดคำที่ดีขึ้น ความสนใจขึ้น พฤติกรรม ที่ผิดปกติ ความกระสับกระส่าย และอาการสมาธิสั้น โดยรวมลดลง และมีงานวิจัยในประเทศโอมาน ระบุว่าเด็กที่เป็น ออทิซึม หรือผู้ป่วยออทิสติก จะมีระดับของ DHA ในเลือดแดงต่ำเช่นเดียวกัน
ดังนั้นการรับประทานอาหารหรืออาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของกรดโดโคเฮกซาอีโนอิก  หรือ  DHA เป็นประจำ  จะมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างพัฒนาการในเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น และผู้ป่วยออทิสติก นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุและมีส่วนช่วยในการพัฒนาสมองเพิ่มการเรียนรู้และการจดจำได้ดี
น้ำมันปลาประกอบด้วยกรดไขมันจำเป็นประเภทโอเมก้า 3 อยู่ในปริมาณสูงซึ่งในกลุ่มของโอเมก้า 3 นั้นมีกรดไขมันไม่อิ่มตัว 2 ชนิดที่สำคัญได้แก่
1  กรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก หรือ DHA
2  กรดไอโคซาเพนทาอีโนอิก หรือ EPA
    ทราบ หรือไม่
ปกติแล้วน้ำมันปลาจะประกอบด้วย กรดไขมันหลักสองชนิดคือ EPA และ Dha ซึ่งจะมีการปรับสัดส่วนของ  EPA:DHA ให้เหมาะสมกับความต้องการที่แตกต่าง
..น้ำมันปลามีสัดส่วนของ  EPA:DHA  เป็น 3.2 เช่นมี  EPA 180 mg และ DHA  120 mg จะเหมาะกับการดูแลสุขภาพโดยรวมลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ และลดการอักเสบของข้อต่าง ๆ และบำรุงสมองโดยรวม
..น้ำมันปลาที่มีสัดส่วน EPA:DHA แ เป็น 1 : 5  เช่นมี EPA 100  mg และ ดีเอชเอ 500 มิลลิกรัม หรือ มี  DHA มากกว่าสูตรปกติ ถึง  4 เท่า จะเน้นการส่งเสริมพัฒนาการทางสมอง เพิ่มการเรียนรู้และจดจำ รวมทั้งลดความเสี่ยงต่อการเกิดอัลไซเมอร์ อีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น